สุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด

ทุกกลุ่มอายุและทุกระดับรายได้ล้วนมีโอกาสมีปัญหาทางจิตใจได้ทั้งนั้น ซึ่งครอบคลุมไปถึงอาการทางสุขภาพจิตที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด

Perinatal mental health disorders include depression, anxiety, post-traumatic stress disorder (“PTSD”), and psychosis, amongst others. These disorders can be caused by a combination of biological, psychological, and social stressors. Maternal anxiety and depression are the most common complications of childbirth, affecting about 1 in 5 women.

ปัญหาความผิดปกติทางจิตใจระหว่าง หรือหลังจากการตั้งครรภ์ ประกอบไปด้วยโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรควิกลจริต ความผิดปกติเหล่านี้เกิดจากการผสมผสานระหว่างปัจจัยด้านร่างกาย จิตใจ และความกดดันทางสังคม เช่นขาดการสนับสนุนจากคนรอบข้าง โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในคุณแม่หลังคลอด โดยพบประมาณ 1 ใน 5 ของทั้งหมด

ในขณะเดียวกันโรงพยาบาล คลินิคหลาย ๆ แห่ง รวมถึงคุณหมอหลาย ๆ ท่านอาจไม่ได้รวมการประเมินสุขภาพจิตของคนไข้เพื่อหาอาการเหล่านี้ไว้ในแผนการตรวจหลังคลอดทั่วไป

ประเภทของความผิดปกติทางจิตใจในคุณแม่

อาการความผิดปกติทางจิตใจของคุณแม่อาจเกิดขึ้นช่วงเวลาไหนก็ได้ตลอดการตั้งครรภ์ หรือภายใน 12 เดือนหลังการคลอด โดยอาจมีอาการต่อไปนี้:

  • เกิดกับคุณแม่หลังคลอดประมาณ 2 ใน 3 โดยมีแนวโน้มว่าอาจเกิดจากปริมาณฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังการคลอดลูก คุณแม่ที่มีประสบการณ์การเป็นเบบี้บลูส์อาจมีอารมณ์แปรปรวน รู้สึกเศร้า หรืออาจร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ

    เนื่องจากอาการต่าง ๆ มักหายไปได้เองในสองสามวัน อาการเบบี้บลูส์จึงไม่นับว่าเป็นโรคความผิดปกติทางจิตใจ อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงอยู่มากกว่า 2 สัปดาห์ คุณแม่อาจมีปัญหาเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดและจะต้องการการประเมินและการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ

  • โรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด ถือเป็นปัญหาทางจิตใจที่พบได้บ่อยที่สุดหลังการคลอด คุณแม่ประมาณ 15% จะรู้สึกมีอาการซึมเศร้าหลังการคลอด และมีโอกาสเกิดสูงขึ้นในครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงิน

    ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดมักมีอาการต่อไปนี้:

    ● ขาดความสนใจในทารก

    ● ขาดความสนใจ ไม่เพลิดเพลิน หรือไม่มีความสุขกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบทำ

    ● รู้สึกโกรธ หงุดหงิดง่าย

    ● มีความคิดทำร้ายตนเอง หรือทำร้ายลูก

    ● มีปัญหาในการกิน และการนอน

    ● ร้องไห้บ่อย รู้สึกเศร้าซึม

    ● รู้สึกผิด ละอายใจ หรือท้อแท้

    ปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าปริกำเนิดมากขึ้นมีดังนี้:
    ● เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน หรือมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้าหลังคลอด

    ● เป็นโรคกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual dysphoric disorder)

    ● ขาดการสนับสนุนจากคนรอบข้างในการดูแลลูก

    ● ความเครียดทางการเงิน

    ● ความเครียดด้านชีวิตคู่

    ● อุปสรรคในการตั้งครรภ์ การคลอด หรือการให้นมลูก

    ● มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต เช่นความสูญเสีย การย้ายบ้าน ตกงาน

    ● การตั้งครรภ์หลายครั้ง

    ● ทารกไม่สบายและต้องอยู่ในแผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด

    ● ผ่านการรักษาภาวะมีบุตรยาก

    ● ความไม่สมดุลของต่อมไทรอยด์

    ● โรคเบาหวาน ทั้งประเภทที่ 1, 2 หรือโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณ 6% และคุณแม่หลังคลอด 10% จะเป็นโรควิตกกังวล โดยอาจเป็นโรควิตกกังวลอย่างเดียว หรือเป็นพร้อมกับโรคซึมเศร้าก็ได้

    อาการของโรควิตกกังวลก่อนคลอด และหลังคลอดมีดังนี้:

    ● ความกังวลอย่างต่อเนื่อง

    ● การคิดไม่หยุด

    ● ปัญหาในการนอน และการกิน

    ● รู้สึกกลัว

    ● ไม่สามารถอยู่เฉยได้

    ● รู้สึกเหมือนเรื่องร้ายกำลังจะเกิดขึ้น

    ● อาการทางร่างกาย เช่นมึนหัว รู้สึกร้อนวูบ ใจสั่น ชา หรือคลื่นไส้

    ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อโรควิตกกังวลมีดังนี้:

    ● เคยเป็นโรควิตกกังวลมาก่อน หรือมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล

    ● เคยเป็นโรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวลระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด

    ● ความไม่สมดุลของต่อมไทรอยด์

  • งานวิจัยพบว่าคุณแม่และคุณพ่อมือใหม่ประมาณ 3-5% มีปัญหาโรคย้ำคิดย้ำทำระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด (obsessive-compulsive disorder) โดยมีอาการดังนี้:

    ● มีความหมกมุ่น โดยแสดงออกมาด้วยการคิดเรื่องเกี่ยวกับทารกซ้ำ ๆ ไม่หยุด ความคิดเหล่าน้ีอาจทำให้อารมณ์ขุ่นมัว หรือเป็นความรู้สึกที่คุณแม่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน

    ● รู้สึกว่าต้องทำกิจกรรมซ้ำไปซ้ำมาเพื่อลดความกลัวและลดความหมกมุ่น อาจเป็นกิจกรรมเช่นการทำความสะอาดตลอดเวลา ตรวจสอบบางอย่างซ้ำ ๆ นับจำนวนของหรือจัดของซ้ำไปมา

    ● รู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรงเกี่ยวกับความคิดหมกมุ่นที่เกิดขึ้น

    ● รู้สึกกลัวที่จะต้องอยู่ลำพังกับทารก

    ● รู้สึกระแวดระวังมากเกินไปในการปกป้องทารก

  • ความเครียดหลังเหตุการณ์รุนแรงหลังคลอด (Postpartum post-traumatic stress disorder) เกิดกับคุณแม่หลังคลอดประมาณ 9% อาการนี้มักเกิดจากความบอบช้ำทางจิตใจในอดีต ตัวอย่างเช่น:

    ● ความบอบช้ำทางใจที่เกี่ยวกับการคลอด หรือเกิดหลังคลอด

    ● ความบอบช้ำทางใจที่เกิดจากปัญหาทางร่างกาย หรือการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์หรือการคลอด

    ● ความรู้สึกไร้อำนาจ ขาดการสื่อสารที่ดี หรือขาดการสนับสนุนและขาดการให้กำลังใจระหว่างการคลอด

    ● ความบอบช้ำทางใจที่เกิดจากการถูกข่มขืน หรือโดนละเมิดทางเพศ

    อาการจะแสดงออกดังนี้:

    ● เห็นภาพในอดีตหรือฝันร้าย

    ● มีความคิดที่ควบคุมไม่ได้เกี่ยวกับความบอบช้ำทางใจในอดีต

    ● หลีกเลี่ยงทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความบอบช้ำทางใจในอดีต

    ● ความเครียดต่อเนื่องซึ่งอาจทำให้มีปัญหาในการนอนหลับ

    ● รู้สึกวิตกกังวล มีอาการตื่นตระหนก หรือ panic attack

    ● รู้สึกตัดขาดจากความเป็นจริง และปลีกตัว

  • โรคอารมณ์สองขั้วเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่บุคคลหนึ่งจะมีอารมณ์แบบสองขั้ว คืออารมณ์ซึมเศร้า(depression) และอารมณ์ตื่นตัวเป็นพิเศษ (mania) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้คือเคยเป็นโรคมาก่อน หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค

    อาการของโรคอารมณ์สองขั้วมีดังนี้:

    ● มีช่วงเวลาที่เกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างรุนแรง

    ● มีช่วงเวลาที่อารมณ์ดีเป็นพิเศษกว่าปกติ

    ● พูดเร็ว

    ● ต้องการนอนน้อยกว่าปกติ

    ● คิดเร็วกว่าปกติ มีปัญหาในการตั้งสมาธิ

    ● วิตกกังวล

    ● รู้สึกมีพลังงานมากกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง

    ● มั่นใจมากกว่าปกติ

    ● ความคิดไม่ตรงกับความเป็นจริง (ส่วนใหญ่จะมีความเชื่อหลงผิดว่าตนเองยิ่งใหญ่เกินจริง หรือวิตกกังวลเกินจริง)

    ● หุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่สามารถตั้งสมาธิได้

    ● ความคิดเกินจริง สำคัญตัวมากเกินความจริง

    ● ในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการจิตหลอนหรือเห็นภาพหลอน

  • ภาวะวิกลจริตหลังคลอดจะเกิดกับผู้หญิง 1 ใน 1,000 คนหลังการคลอด โรคนี้มักเกิดแบบฉับพลัน โดยส่วนมากจะเกิดภายใน 2 สัปดาห์หลังการคลอดบุตร

    อาการจะแสดงออกดังนี้:

    ● มีภาวะจิตหลอน หรือมีความเชื่อแปลก ๆ

    ● มองเห็นภาพหลอน หรือได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริง

    ● รู้สึกหงุดหงิดมาก

    ● อยู่ไม่สุข

    ● ต้องการนอนน้อยกว่าปกติ หรือไม่สามารถนอนได้

    ● อาการหวาดระแวง หรือสงสัยผู้อื่น

    ● อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง

    ● มีปัญหาในการสื่อสารเป็นช่วง ๆ

    ปัจจัยเสี่ยงที่เห็นได้ชัดที่มีผลต่อการเป็นภาวะโรคจิตหลังคลอดคือการเคยเป็นโรคไบโพลาร์ หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นไบโพลาร์ หรือมีอาการของภาวะโรคจิตเป็นช่วง ๆ มาก่อน งานวิจัยพบว่าในกลุ่มผู้หญิงที่มีอาการภาวะโรคจิตหลังคลอดจะมีอัตราการฆ่าตัวตายประมาณ 5% และมีอัตราการฆ่าทารก 4% จากภาวะของโรค

หากคุณแม่รู้สึกว่ามีอาการของหนึ่งในโรคต่าง ๆ ที่กล่าวมา โปรดทราบว่านี่ไม่ใช่ความผิดของคุณ และไม่ได้เกิดจากการกระทำของคุณแม่เลย ควรบอกคู่ครอง ลองหากลุ่มสนับสนุนจากคุณแม่ที่ประสบปัญหาคล้าย ๆ กัน และขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญก่อนที่อาการจะส่งผลกระทบต่อคุณและลูกน้อย เมื่อได้รับความช่วยเหลือแล้วคุณจะสามารถป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงและกลับมาเป็นปกติได้

ขอขอบคุณ
บทความเกี่ยวกับสุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดนี้ถูกจัดทำขึ้นจากการร่วมมือและการสนับสนุนจาก Pranaiya & Arthur Magoffin Foundation และ Mali Family Health เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อ

รับรองโดย
เกศสุภา จิระการณ์ (นักสุขภาพจิต)