เช็คลิสต์สุขภาพจิตคุณแม่ : อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายแบบนี้ ปกติหรือไม่?
อาการอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และความรู้เศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ หรือภายใน 1 ปีหลังคลอดอาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน ทุกช่วงอายุ ช่วงรายได้ และทุกชาติพันธุ์
มะลิได้เตรียมเช็คลิสต์นี้มาเพื่อช่วยคุณแม่ติดตามอารมณ์และอาการของตนเอง เพื่อจะได้รู้ว่าอาการที่เป็นอยู่นี้ปกติหรือไม่
-
คำถามด้านล่างนี้คือคำถามที่คุณแม่อาจถามตัวเองได้
● รู้สีกซึมเศร้า หรือไม่มีความรู้สึกเลยหรือเปล่า?
● รู้สึกสิ้นหวังบ้างไหม?
● รู้สึกไม่สนใจในตัวลูกหรือเปล่า?
● รู้สึกว่าไม่สามารถตั้งสมาธิกับสิ่งที่ทำหรือไม่?
● รู้สึกว่าความคิดไม่แจ่มชัดหรือไม่?
● รู้สึกกระวนกระวาย หรือวิตกกังวลไหม?
● รู้สึกใจสั่นบ้างไหม?
● รู้สึกโกรธบ่อย ๆ หรือหงุดหงิดง่ายไหม?
● รู้สึกมึนงงบ่อย ๆ หรือไม่?
● นอนหลับยากเมื่อลูกหลับหรือไม่?
● มีความวิตกกังวลมาก หรือกลัวมากหรือไม่? (เช่นกลัวเรื่องสุขภาพของลูก หรือความปลอดภัยของลูกน้อย)
● เห็นภาพความทรงจำในช่วงที่ตั้งครรภ์ หรือตอนคลอดลูกหรือไม่?
● คุณพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการคลอดลูกหรือเปล่า?
● มีความคิดที่น่ากลัวหรือไม่อยากคิดถึงหรือไม่?
● รู้สึกว่าอยากทำกิจกรรมหนึ่งซ้ำ ๆ เพื่อลดความวิตกกังวลหรือไม่?
● รู้สึกไม่อยากนอนหลับ แต่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้หรือไม่?
● รู้สึกคึกและมีแรงมากกว่าปกติหรือไม่?
● มองเห็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น หรือได้ยินเสียงที่คนอื่น ๆ ไม่ได้ยินหรือไม่?
● มีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือทำร้ายลูกบ้างไหม?
เช็คลิสต์เหล่านี้ไม่ใช่เครื่องมือในการวิเคราะห์ แต่เป็นเพียงคำแนะนำคร่าว ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่สำรวจสุขภาพจิตใจของตนเองเพื่อให้ทราบว่าสมควรต้องขอความช่วยเหลือหรือไม่ หากตอบว่าใช่ในหนึ่งข้อหรือมากกว่า คุณแม่อาจมีอาการของความผิดปกติทางจิตใจ หรือมีปัญหาในใจที่อาจต้องแก้ไข ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา
-
การรู้ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอด และอาการผิดปกติทางจิตต่าง ๆ จะช่วยให้คุณแม่สื่อสารกับคนในครอบครัวและผู้ให้บริการทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คนรอบข้างจะได้วางแผนการดูแลที่ครอบคลุมมากขึ้นให้คุณแม่ได้ คุณจะมีความเสี่ยงในการเกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้หากมีปัจจัยต่อไปนี้
● เคยเป็นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
● เคยเป็นโรคไบโพลาร์
● เคยเป็นโรควิกลจริต (psychosis)
● มีประวัติเคยเป็นโรคเบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับไทรอยด์
● มีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคทางจิตเวช
● เคยเป็นโรคกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome - PMS)
● มีประวัติเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ หรือมีความชอกช้ำทางจิตใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ
● การตั้งครรภ์หรือการคลอดทำให้เกิดบาดแผลทางจิตใจ
● เคยสูญเสียทารกในครรภ์ หรือทารกเสียชีวิต
● มีทารกที่ต้องเข้ารับการดูแลในแผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด (NICU)
● มีปัญหาด้านความสัมพันธ์
● มีปัญหาด้านการเงิน
● เป็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
● เป็นพ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยว
● ไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง
● ไม่ได้อยู่ในประเทศบ้านเกิด
● มีอุปสรรคในการให้นมลูก
หากคุณแม่มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้หนึ่งข้อหรือมากกว่า พยายามสังเกตอารมณ์ตัวเองบ่อย ๆ และแจ้งให้เพื่อนและครอบครัวทราบเพื่อพวกเขาจะได้คอยช่วยสังเกตอาการของโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ควรปรึกษาแพทย์ เมื่อได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกต้องแล้วไม่ว่าใครก็สามารถป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงและกลับมาเป็นปกติได้
ขอขอบคุณ
บทความเกี่ยวกับสุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดนี้ถูกจัดทำขึ้นจากการร่วมมือและการสนับสนุนจาก Pranaiya & Arthur Magoffin Foundation และ Mali Family Health เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อ
รับรองโดย
เกศสุภา จิระการณ์ (นักสุขภาพจิต)
-
● Perinatal Mental Health Discussion Tool, Postpartum Support International https://www.postpartum.net/wp-content/uploads/2021/05/2021_05_21-Discussion-Tool-ENGLISH.pdf